สังคมฐานความรู้ และเศรษฐกิจฐานความรู้  (Knowledge Base Society and Knowledge Based Economy)

        หมายถึง “เศรษฐกิจและสังคม ที่อาศัยการเรียนรู้ และพลังสมองของคนในชาตินั้นๆ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ตลอดจนการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมจะอยู่บนพื้นฐานของความรู้ที่ทั่วถึงกัน และทุกคนในชาติต่างก็สามารถเข้าถึงความรู้ได้อย่างเท่าเทียม  มีการตัดสินใจในชีวิตประจำวันจากข้อมูลข่าวสาร ความเป็นเหตุเป็นผล ตรรกศาสตร์และการเปรียบเทียบ มากกว่าความเชื่อ การโฆษณา หรือประเพณีปฏิบัติกว่าแต่ก่อน”

        การดำเนินการต่างๆ เพื่อให้เป็นประเทศใดๆ ก็ตามเป็น KBE และ KBS เริ่มต้นจากการส่งเสริมให้คนในชาติอ่านหนังสือ  ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Long Life EDU) การสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของคนในชาติ   การส่งเสริมการศึกษา การกระจายข้อมูลข่าวสารด้วยความรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การจัดตั้งโครงการอินเตอร์เนตตำบล  การจัดทำสื่ออีเล็กทรอนิกส์ e-Book , e-Library ,…etc

        สมัยก่อนใครๆ ก็ให้ความสำคัญกับข้อมูล (Data) ข่าวสาร (Information) แต่ถ้าข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นใช้ประโยชน์กับเรื่องที่ต้องการแก้ปัญหาไม่ได้ ก็ไม่มีประโยชน์อะไร  ข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่เกลื่อนกลาดเต็มไปหมดทุกวันนี้ดูเหมือนเริ่มไร้ค่าแล้ว  หากผู้ใช้ขาดความรู้ที่จะใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง  ปัจจุบันการเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารให้กลายเป็นความรู้จึงมีประโยชน์และเข้าถึง  เข้าใจการแก้ปัญหาได้ถูกต้องมากกว่า (Data --> Information --> Knowledge) และหากความรู้นั้นถูกใช้อยู่บ่อยๆ สามารถเข้าใจและเปรียบเทียบปัญหาที่ใกล้เคียงกัน ที่เรียกว่าการอนุมานเปรียบเทียบ (Inferrencing) เราจะเรียกความรู้นั้นว่าเป็นความชาญฉลาด (Intelligence)

What is Knowledge Society? (โดยดนัย จันทร์เจ้าฉาย)
What is Knowledge Management? (powerpoint.pps)
คำกล่าวของ พตท. ดร.ทักษิณ ชิณวัตร เกี่ยวกับ KBS