สังคมแห่งการเรียนรู้
โปรแกรมที่ว่า
คือ การออกบัตรประจำตัวห้องสมุดให้กับเด็กทารกแรกเกิดทุกคน
ก่อนที่จะออกจากโรงพยาบาล! โดยในขณะนี้ มีโรงพยาบาลทั้งหมด 9
แห่งได้เข้าร่วมโปรแกรมดังกล่าว และคาดว่าจะมีการออกบัตรประจำตัวห้องสมุดให้เด็กทารกไม่น้อยกว่า
50,000 คนในปีแรกนี้
อ่านข่าวนี้แล้ว
ต้องขอคารวะอย่างงามและแสดงความยินดีอย่างจริงใจกับเพื่อนบ้านของเรา ที่ได้ ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์
มองการณ์ไกล และพยายามเริ่มปลูกฝังสิ่งดีๆ ทั้งหลายที่ต้นเหตุ ถึงแม้ว่าเด็กแรกเกิดอายุเพียงหนึ่งวันจะไม่สามารถที่จะอ่านออกเขียนได้
แต่ในเชิงจิตวิทยาและการประชาสัมพันธ์ระยะยาว ถือว่า โปรแกรมนี้มีความโดดเด่นและจะสร้างผลตอบรับได้อย่างดี
จากสถิติของเกาะสิงคโปร์
มีนักเรียนนักศึกษาที่เป็นสมาชิกห้องสมุดเพียง 16% จากยอดรวมสมาชิกทั้งหมด 1.84 ล้านคน
แต่ปรากฏว่า 16% นี้ เป็นสมาชิกที่รักการอ่านสูงสุดและมีปริมาณการยืมหนังสือสูงที่สุด
นอกจากนี้
พฤติกรรมที่แตกต่างจากเยาวชนไทยของเรา ก็คือ นิสัยรักการอ่านครับ
เด็กๆ
ส่วนใหญ่จะมีหนังสือคู่กายคนละเล่มสองเล่ม แล้วจะใช้เวลาว่างระหว่างโดยสารเครื่องบินในการอ่านหนังสือเหล่านี้
ทั้งภาษาจีนและอังกฤษ บ้านเราก็กำลังมีการพูดกัน
(มานานหลายปีมาก) ถึงเรื่องการปฏิรูปการศึกษา
แต่ก็ไม่รู้ว่าภายในสิบปีนี้จะเป็นเรื่องเป็นราว เป็นจริงเป็นจังได้ขนาดไหน)
ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง
ก็แน่นอนครับ ไทยเราโดนทิ้ง แน่ๆ อย่าว่าแต่ไปตามสิงคโปร์ มาเลเซียเลย
ขนาดเวียดนามเราก็คงตามเขาไม่ทันแล้ว!
ผมเข้าใจว่ากระทรวงศึกษาธิการเป็นหนึ่งในกระทรวงที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินประจำปีสูงที่สุดกระทรวงหนึ่ง
แต่ไม่คิดว่างบประมาณกับผลลัพธ์ที่ออกมานั้น มีความสัมพันธ์กันแต่อย่างใด
ความฝันอันสูงสุดข้อหนึ่งของผม
คือ การได้เห็นคนไทย เยาวชนไทยมีนิสัยรักการอ่าน มีวิจารณญานในการเสพสื่อและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีเหตุผล
ไม่ใช่เป็นแบบชาวไทยเชื้อสายเฮโล มีขูดเลขที่ไหนก็เฮโลกันไปขูด ไม่เว้นแม้กระทั่งรางใส่ข้าวหมู
หรือเชื่อตามๆ กันไปตามที่ได้ยินได้ฟังมา
เห็นตัวอย่างบ่อยครับ
แม้กระทั่งมนุษย์ทำงานทั้งหลาย ก็ขาดความขวนขวาย ความกระตือรือล้น ในการหาความรู้เพิ่มพูนสติปัญญาโดยการศึกษาเพิ่มเติม
อยากให้คนไทยมีนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้เหมือนกับกระแสความนิยมในหนังสือและภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่
พอตเตอร์ ที่มียอดขายหนังสือเฉพาะฉบับภาษาไทยถึงกว่าแปดแสนเล่ม และถ้าเป็นเช่นนี้ได้จริงๆ
เราก็น่าจะมีหวังที่จะถีบตัวเองให้เจริญก้าวหน้าไปได้อีกมาก
ต้องรู้จักการเชื่อมครับ
เชื่อมต่อระหว่างความรู้กับการนำมาใช้ปฏิบัติให้เกิดผลได้จริง หรือที่เรียกว่า Bridging Learning to
Doing ตรงนี้ท่านปรมาจารย์ฟิลิป
คอตเลอร์ก็ได้เน้นไว้แล้วว่า สมัยนี้ ไม่ต้องการนักทฤษฏีหรือคนที่ปรึกษาหัวโตอะไร แต่ต้องการคนที่จะทำงานให้สัมฤทธิ์ผลมากกว่า