|
|
|
เมื่อกรุงศรีอยุธยาตกเป็นเมืองขึ้นแก่กรุงหงสาวดีหลังเสียกรุงฯครั้งที่ 1 เมื่อ พุทธศักราช ในสมัยพระมหาธรรมราชา สมเด็จพระนเรศวร ได้ถูกจับเป็นตัวประกันในฐานะบุตรบุญธรรมของพระเจ้าหงสาวดี ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2107 |
|
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จพระราชสมภพ ณ เมืองพิษณุโลก เมื่อปีเถาะ พุทธศักราช
2098 พระองค์เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชา และพระวิสุทธิกษัตรี
ราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ และสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ดังนั้น
พระองค์จึงมีพระชาติ ทั้งราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัยทางพระราชบิดา
และราชวงศ์อยุธยาทางพระราชมารดา พระองค์ทรงมีพระพี่นาง พระนามว่า
พระสุวรรณเทวีหรือพระสุพรรณกัลยา และพระน้องยาเธอ พระนามว่า
สมเด็จพระเอกาทศรถ |
ขณะทรงพระเยาว์และในระหว่างที่พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงหงสาวดี
ก็ได้ทรงศึกษาวิชาศิลปศาสตร์ และวิชาพิชัยสงคราม ทรงนิยมในวิชาการรบทัพจับศึก
พระองค์ทรงมีโอกาสศึกษา ทั้งภายในราชสำนักไทย และราชสำนักพม่า มอญ
และได้ทราบยุทธวิธีของชาติต่าง ๆ ที่มารวมกันอยู่ในกรุงหงสาวดีเป็นอย่างดี
ทรงนำหลักวิชามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับเหตุการณ์ และสภาพแวดล้อมได้เป็นเลิศ
ดังเห็นได้จากการสงครามทุกครั้งของพระองค์ ยุทธวิธีที่ทรงใช้ เช่น
การใช้คนจำนวนน้อยเอาชนะคนจำนวนมาก และยุทธวิธีเดินเส้นใน
พระองค์ทรงนำมาใช้ก่อนจอมทัพที่เลื่องชื่อในยุโรป นอกจากนั้น
หลักการสงครามที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เช่น การดำรงความมุ่งหมาย
หลักการรุก การออมกำลัง และการรวมกำลัง การดำเนินกลยุทธ เอกภาพในการบังคับบัญชา
การระวังป้องกัน การจู่โจม หลักความง่าย ฯลฯ พระองค์ก็ทรงนำมาใช้อย่างเชี่ยวชาญ
และประสบผลสำเร็จอย่างงดงามมาโดยตลอด |
พระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ทั้งสิ้นทั้งปวงของพระองค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์ของบ้านเมืองและคนไทยทั้งมวล ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ จะอยู่ในสนามรบและชนบทโดยตลอด มิได้ว่างเว้น แม้แต่เมื่อเสด็จสวรรคต ก็เสด็จสวรรคตในระหว่างเดินทัพไปปราบศัตรูของชาติไทย นับว่าพระองค์ได้ทรงสละพระองค์ เพื่อชาติบ้านเมืองโดยสิ้นเชิง สมควรที่ชาวไทยรุ่นหลังต่อมา ได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ และจดจำวีรกรรมของพระองค์ เทอดทูลไว้เหนือเกล้า ฯ ไปตราบชั่วกาลนาน |
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
พุทธศักราช ๒๑๐๗ |
พระชนมายุ ๙ พรรษา สมเด็จพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ พม่ายกมาตีกรุงศรีอยุธยา ทรงถูกนำไปเป็นตัวประกัน ณ กรุงหงสาวดี ประทับ ๖ ปี |
พุทธศักราช ๒๑๑๓ |
พระชนมายุ ๑๕ พรรษา เสด็จฯ กลับจากกรุงหงสาวดี |
พุทธศักราช ๒๑๑๔ |
พระชนมายุ ๑๖ พรรษา เสด็จขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก มีอำนาจบัญชาการหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวง |
พุทธศักราช ๒๑๑๗ |
พระชนมายุ ๑๙ พรรษา ทรงยกทัพไปพร้อมกับสมเด็จพระราชบิดา เพื่อสมทบกับทัพหลวงตีเมืองเวียงจันทน์ |
พุทธศักราช ๒๑๒๑ |
พระชนมายุ ๒๓ พรรษา ทรงเรือพระที่นั่งไล่กวดจับพระยาจีนจันตุที่ลงเรือหนีไปปากแม่น้ำเจ้าพระยา ในการสู้รบครั้งนั้น พระองค์ทรงแสดงความกล้าหาญอย่างยอดเยี่ยม |
พุทธศักราช ๒๑๒๒ |
พระชนมายุ ๒๔ พรรษา ทรงเป็นแม่ทัพต่อสู้กับพระทศราชาซึ่งคุมกองทัพเขมรเข้ามาตีโคราชและหัวเมืองชั้นใน และทรงได้รับชัยชนะทั้งที่ทรงมีกำลังทหารน้อยกว่า |
พุทธศักราช ๒๑๒๔ |
พระชนมายุ ๒๖ พรรษา พระเจ้ากรุงหงสาวดีสวรรคตได้เสด็จฯ ไปกรุงหงสาวดีในพิธีบรมราชาภิเษกกษัตริย์ องค์ใหม่แทนพระราชบิดา |
พุทธศักราช ๒๑๒๖ |
พระชนมายุ ๒๘ พรรษา ได้เป็นแม่ทัพยกไปช่วยเมืองหงสาวดีไปตีเมืองลุม เมืองคัง ในรัฐไทยใหญ่ ตามคำสั่งของพม่า |
พุทธศักราช ๒๑๒๗ |
พระชนมายุ ๒๙
พรรษา ทรงประกาศอิสรภาพของไทย ณ เมืองแครง
พระเจ้ากรุงหงสาวดีให้สุระกำมายกกองทัพตามมาไล่จับสมเด็จพระนเรศวร
พระองค์ทรงยิงปืนข้ามแม่น้ำสะโตงถูกสุระกำมา แม่ทัพพม่าตาย
และทรงได้รับมอบอำนาจให้บัญชาการบ้านเมืองสิทธิ์ขาดแต่ผู้เดียว สงครามไทยกับพม่า
พระยาพะสิมยกกำลัง ๑๓๐,๐๐๐ คนมาทางเมืองสุพรรณบุรี
พระเจ้าเชียงใหม่มาทางเหนือตีพม่าแตกกลับไป |
พุทธศักราช ๒๑๒๘ |
สงครามไทยกับพม่า ทรงสู้รบกับพระเจ้าเชียงใหม่ที่บ้านสระเกศ พม่า ๑๕๐,๐๐๐ คน ไทย ๘๐,๐๐๐ คน ไทยตีทัพพม่าแตกกลับไป |
พุทธศักราช ๒๑๒๙ |
สงครามไทยกับพม่า พระเจ้าหงสาวดียกกำลังทหาร ๒๕๐,๐๐๐ คน มาล้อมกรุงอยู่ ๖ เดือน ไทยมีกำลัง ๘๐,๐๐๐ คน ตีขับไล่พม่าจนต้องถอยทัพกลับไป ไม่สามารถเข้าถึงกำแพงพระนครได้ |
พุทธศักราช ๒๑๓๓ |
พระชนมายุ ๓๕ พรรษา สมเด็จพระมหาธรรมราชาพระราชบิดาสวรรคต พระองค์เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๑๓๓ ทรงสถาปนาพระเอกาทศรถ เป็นพระมหาอุปราชา และมีพระเกียรติยศสูงเสมอพระเจ้าแผ่นดินอีกพระองค์หนึ่ง สงครามไทยกับพม่า พระมหาอุปราชายกมาครั้งแรกที่สุพรรณบุรี พม่า ๓๐๐,๐๐๐ คน ไทยมีกำลัง ๘๐,๐๐๐ คน ตีพม่าแตกพ่ายไป จับพระยาพะสิมแม่ทับพม่าที่จระเข้สามพันธุ์ |
พุทธศักราช ๒๑๓๕ |
พระชนมายุ ๓๗ พรรษา สงครามยุทธหัตถี พม่า ๒๔๐,๐๐๐ คน ไทย ๑๐๐,๐๐๐ คน รบกันที่เมืองสุพรรณบุรี ทรงมีชัยชนะฟันพระมหาอุปราชามังกะยอชวาแห่งกรุงหงสาวดี ด้วยพระแสงของ้าวสิ้นพระชนม์ เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๑๓๕ สงครามเมืองทะวาย ตะนาวศรี ไทย ๑๐๐,๐๐๐ คน ตีได้เมือง |
พุทธศักราช ๒๑๓๖ |
สงครามเมืองเขมร ไทย ๑๓๐,๐๐๐ คน เขมร ๗๕,๐๐๐ คน ไทยตีได้เมืองเขมร |
พุทธศักราช
๒๑๓๗ |
สงครามไทยกับพม่า ไทยตีได้หัวเมืองมอญ |
พุทธศักราช ๒๑๓๘ |
สงครามไทยกับพม่า ยกทัพไปตีเมืองหงสาวดีครั้งที่ ๑ ไม่สำเร็จ ไทยมีกำลัง ๑๒๐,๐๐๐ คน |
พุทธศักราช ๒๑๔๒ |
สงครามไทยกับพม่า ยกทัพไปตีเมืองหงสาวดีได้สำเร็จ ไทย ๑๐๐,๐๐๐ คน แล้วไปล้อมเมืองตองอูอยู่ ๒ เดือน เสบียงอาหารหมดต้องยกทัพกลับ |
พุทธศักราช ๒๑๔๖ |
สงครามเมืองเขมร ได้เมือง |
พุทธศักราช ๒๑๔๗ |
สงครามครั้งสุดท้ายของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ยกทัพไปตีกรุงอังวะ ไทย จำนวน ๒๐๐,๐๐ คน แต่ทรงประชวร และเสด็จสวรรคตเสียก่อน |
ชมตัวอย่างภาพยนต์แห่งอิสระภาพ
http://www.kingnaresuanmovie.com/trailer2_thai.php