|
นาโนเทคโนโลยี
ก็คือ
วิทยาการประยุกต์แขนงใหม่ที่ว่าด้วยการศึกษาในระดับโมเลกุล
และอะตอมของสิ่งต่าง ๆ ที่มีขนาด 1 ในพันล้านส่วนของ 1
เมตร โดยเป็นการผสมผสานของวิทยาศาสตร์หลายแขนง
เช่น ชีววิทยา ชีวเคมี วิศวกรรมศาสตร์สาขา
หุ่นยนต์ และเครื่องจักรกล แนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวแนวทางหนึ่งคงหนีไม่พ้นการที่จะทำให้คนมีสุขภาพดี สามารถใช้รักษาโรคได้ หรือแม้แต่สามารถทำนายได้ว่าโอกาสและความเสี่ยงในการเกิดโรคของเราจะเป็นเท่าใด
ประโยชน์ของนาโนเทคโนโลยีทางการแพทย์มีมากมายมหาศาล อาทิเช่น
การสร้างเครื่องมือขนาดจิ๋วที่สามารถติดตามอาการผิดปกติของเซลล์
และใช้เครื่องมือดังกล่าวในการรักษาโรคในระดับเซลล์หรือโมเลกุล
โดยใช้หุ่นยนต์ขนาดจิ๋ว (เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-
3 ไมครอน) ในการปกป้องร่างกายจากเชื้อโรค ซ่อมแซมผนังเซลล์
หรือทำลายไขมันที่อุดตันในเส้นเลือดเป็นต้น
การใช้เซลล์ประดิษฐ์ขนาดจิ๋วที่เรียกว่า นาโนดีคอย ในการดักจับไวรัส (เอดส์ ตับอักเสบ หรือ ไข้หวัดใหญ่) แทนกลไกภูมิคุ้มกันของร่างกาย
หรือการประดิษฐ์เรือดำน้ำขนาดจิ๋วที่สามารถขับเคลื่อนได้เองในกระแสเลือด
เพื่อเข้าทำลายเชื้อโรค
หรือเซลล์มะเร็งในร่างกายโดยไม่ต้องมีการผ่าตัดเสี่ยงอันตรายอีกต่อไป การผลิตแก้วหูเทียม
ผิวหนังเทียมสามารถทำขึ้นทดแทนได้อย่างง่ายดาย เหล่านี้เป็นต้น นอกเหนือจากการรักษาโรคแล้วนาโนเทคโนโลยีอาจมีบทบาทในการสร้างเครื่องที่สามารถ
ทำนาย โรคที่จะเกิดขึ้นกับบุคคล
ๆ หนึ่งก่อนที่อาการของโรคจะแสดงขึ้นได้โดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรม
เครื่องมือที่กล่าวถึงนี้ก็คือ DNA Chip ซึ่ง เป็นไมโครชิพชนิดหนึ่งซึ่งใช้ในการค้นหายีนของสิ่งมีชีวิต โดยมากมักมีลักษณะเป็นแผ่นกระจกขนาดเล็ก
ถูกสร้างขึ้นด้วยกระบวนการที่ใกล้เคียงกับการสร้างไมโครชิพคอมพิวเตอร์ บนผิวของ DNA chip แต่ละแผ่นจะฉาบด้วยดีเอนเอ สังเคราะห์ที่เป็นสายเดี่ยว (synthetic
single stranded DNA sequence) ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับดีเอ็นเอ
ในสภาพปกติทุกประการ เทคโนโลยี DNA chip มีประโยชน์อย่างมากในหลายสาขาวิชา เช่นในวงการแพทย์
เพื่อหาการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วย
เพื่อค้นหายีนที่อาจก่อให้เกิดโรคในอนาคตหรือในวงการเกษตรเพื่อค้นหายีนที่ต้านทานโรค
และแมลง รวมทั้งยีนสำคัญที่มีผลต่อการควบคุมปริมาณ และคุณภาพของผลผลิต เป็นต้น ปัจจุบันได้มีการใช้เทคโนโลยี DNA
chip กันบ้างแล้วในบางประเทศ เช่นสหรัฐอเมริกาในการตรวจหายีนมะเร็งเต้านม
และมะเร็งรังไข่ และในอนาคตก็มีแนวโน้มที่จะขยายวงกว้างขึ้นเรื่อย
ๆ ในการตรวจสอบโรคพันธุกรรมอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ และโรคเบาหวานนอกเหนือจากโรคมะเร็ง |
|||||
|
|